เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:เรารักกัน
เป้าหมาย(Understanding Goal):
- เข้าใจถึงความแตกต่างหลากหลายของแต่ละภูมิภาคทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ฯลฯเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อช่วงเวลา เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เคารพ ยอมรับในความต่างนั้นและอยู่ร่วมกันอย่างศานติ
- เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและการวิวัฒน์ของสังคมที่มีผลทั้งต่อความต้องการใช้ทรัพยากรอันจำกัด และวิถีการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป คุณค่า ความสำคัญของวิถี วัฒนธรรมดั้งเดิมที่งดงาม รวมทั้งตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรอันจำกัดสามารถจัดสรรมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

Week 4

เป้าหมายรายสัปดาห์ :  เข้าใจและสามารถอธิบายลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศไทยแต่ละภูมิภาคได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
4

โจทย์  ทำแบบจำลองภูมิศาสตร์แต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
คำถาม
- ความแตกต่างด้านภูมิศาสตร์แต่ละภูมิภาคส่งผลต่อวิถีความของประชากรในแต่ละภูมิภาคอย่างไร
- นักเรียนจะเลือกนำเสนอลักษณะทางภูมิศาสตร์ผ่านนิทานอย่างไร
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะพื้นที่ของแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
- Show and Share นำเสนอชิ้นงานนิทาน
เกี่ยวกับลักษณะภูมิศาสตร์ของแต่ละภูมิภาค
สื่อ/อุปกรณ์
- คลิปวีดีโอ(ลักษณะพื้นที่ของประเทศไทย)
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์
ชง
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนที่ผ่านมา
- ดูคลิปวิดีโอเกี่ยวกับภูมิศาสตร์
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคลิปที่ดูนักเรียนเห็นอะไร  ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปใช้อย่างไร
-นักเรียนศึกษาแบบจำลอง
พื้นที่(ภูมิศาสตร์)ของประเทศไทย
เชื่อม
- นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับความแตกต่างด้านภูมิศาสตร์แต่ละภูมิภาคส่งผลต่อวิถีความของประชากรในแต่ละภูมิภาค

ใช้
- นักเรียนเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละเท่าๆกัน  ออกแบบวางแผนการทำแบบจำลองภูมิศาสตร์แต่ละภูมิภาคของไทย
วันอังคาร
ชง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “จากแบบจำลองภูมิศาสตร์ที่นักเรียนได้เรียนรู้และดูจากคลิปวิดีโอ  นักเรียนจะออกแบบและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสร้างแบบจำลองภูมิศาสตร์แต่ละภูมิภาคของไทย
วันพฤหัสบดี
ใช้(ต่อ)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสร้างแบบจำลองภูมิศาสตร์แต่ละภูมิภาคของไทย

วันศุกร์
ชง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแบบจำลองภูมิศาสตร์
- ครูและเพื่อนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภูมิศาสตร์แต่ละภูมิภาค
เชื่อม
ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม(กลุ่มทำงาน)เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ และนำเสนอให้ครูและเพื่อนฟังอีกครั้ง
ช้
-นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- แบบจำลองภูมิศาสตร์
แต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
- นิทานภูมิศาสตร์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ภาระงาน
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- พูดคุยสนทนา วิเคราะห์   วิพากย์เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ในแต่ละภูมิภาค
- วางแผนพูดคุยการนำเสนอชิ้นงาน
 - ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
ความรู้
- เข้าใจความแตกต่างของลักษณะพื้นที่ ที่ตั้ง อาณาเขต ของแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมทั้งถ่ายทอดเรื่องราวผ่านนิทาน
ทักษะ
ทักษะชีวิต
 -  สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการสื่อสาร
-การแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
-.สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- การคิดสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย



ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์








ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้






1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 4 ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 3 เกิดปัญหาเนื่องจากเวลาในการวางแผนการเรียนรู้ไม่เพียงพอและเนื้อหายังไม่คลอบคลุมพี่ป.3 จึงช่วยกันระดมความคิดและวางแผนทำปฏิทินการเรียนรู้ ชั่วโมงต่อมาพี่ป.3 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะภูมิศาสตร์ของแต่ละภูมิภาคครูเปิดคลิปวิดีโอเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ของประเทศไทยให้นักเรียนชมหลังจากที่ชมจบแล้ว ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคลิปที่ดูนักเรียนเห็นอะไร ได้เรียนรู้อะไรและจะนำไปใช้อย่างไร ครูให้นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้ชมจากการดูคลิปจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด"ความแตกต่างด้านภูมิศาสตร์แต่ละภูมิภาคส่งผลต่อวิถีความของประชากรในแต่ละภูมิภาคอย่างไร" ครูคอยตั้งคำถามกระตุ้นการคิด ภูมิศาสตร์คืออะไรเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร นักเรียนแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่มกลุ่มละเท่าๆกันหาข้อมูลลักษณะภูมิศาสตร์ของแต่ละภูมิภาค(ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้)อาทิเช่น ขนาดพื้นที่ ลักษณะพื้นที่ ที่ตั้ง อาณาเขต ขนาดประชากร ทรัพยากร ภูมิอากาศ การแต่งกาย เชื้อชาติ ศาสนา เป็นต้น แล้วนำมานำเสนอในรูปแบบชาร์ตความรู้และการทำแบบจำลองลักษณะของแต่ละภูมิภาคโดยการต่อเลโก้และปั้นดินเหนียวแล้วนำมานำเสนอให้ครูและเพื่อนฟัง

    ตอบลบ